วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รูปแบบการส่งข้อมูลแบบอนุกรม

    ข้อมลูแบบอนุกรมจะถูกส่งโดยรูปแบบใดแบบหนึ่ง  คือ  แบบซิงโครนัส หรืออะซิงโครนัส ข้อมลูซิงโครนัสต้องการสัญญาณนาฬิกาที่สัมพันธ์กันในระหว่างเครื่องส่งและเครื่องรับซึ่ง เรียกว่า สัญญาณนาฬิกาข้อมูล”<Data  Clock>  เพื่อที่จะทำในการแปลข้อมลูที่ส่งและรับสอดคล้องกัน  เครื่องรับจะจับสัญญาณนาฬิกาข้อมลูซึ่งอยู่ในกระแสข้อมูลแบบอนุกรมได้โดยวงจรวิเศษที่เรียกว่าวงจรจับสัญญาณนาฬิกา”<Clock  recovery   circuics>เมื่อเครื่องรับจับสัญญาณนาฬิกาจึงจะทำให้สอดคล้องกันของบิตและอักขระเกิดขึ้น  การสอดคล้องของบิต     (Bit synchronization  )ได้แก่การเกี่ยวกับการทำให้เกิดอักขระ  เริ่นต้นและสิ้นสุดเพื่อให้สอดกับรหัส  และใหความหมายของอักขระเหล่านี้ได้


การสื่อสารกระแสข้อมลูแบบอนุกรมสามารถ  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
       1. การสื่อสารข้อมลูแบบอะซิงโครนัส( asynchronous transmission) หรือเรียกว่าstartstop Transmion เป็นดำเนินการโดยอาศัยบิตปิดหัวท้ายหรือบิตแฟรม framing Bits  พิเศษเพื่อให้เกิดการเมต้น    เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน เนื่องจากไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันทำให้ผู้รับไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อใดจะมีข้อมูลส่งมาให้ ดังนั้นผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิต เอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit) มักใช้บิต 1 นอกจากนี้แล้วการส่งข้อมูลแต่ละกลุ่มต้องมีช่องว่างระหว่างกลุ่ม โดยช่องว่างระหว่างไบต์อาจใช้วิธีปล่อยให้ช่องสัญญาณว่าง หรืออาจใช้กลุ่มของบิตพิเศษที่มีบิตจบก็ได้ รูปต่อไปนี้แสดงการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ให้บิตเริ่มเป็นบิต 0 บิตจบเป็นบิต 1 และให้ช่องว่างแทนไม่มีการส่งข้อมูล


       2 . การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission) เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักขระการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมาก และทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วในการส่งข้อมูล ทั้งนี้เพราะไม่มีบิตพิเศษหรือช่องว่างที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้เมื่อถึงผู้รับ จึงทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสเร็วกว่าแบบอะซิงโครนัส ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น