วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

รูปแบบสัญญาณข้อมูลไบนารี่ (Binary Data Signal Formats)

       นอกจากความแตกต่างของรหัสอักขระและชนิดของข้อมูล (แบบซิงโครนัสและอะซิงโครนัส) แล้วข้อมูดิจิตอลสามารถถูกส่งหรือเข้ารหัสให้เป็นรุปแบบสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน รุปแบบต่างๆ ที่จะกล่าวต่อไปนั้นมีข้อดีหรือมีการใช้งานต่างกัน


1.Non Return to Zero (NRZ)
        สัญญาณแบบ NRZ เป็นรุปแบบสัญญาณไบนารี่ 2 ระดับพื้นฐานโลจิกที่ 1 ที่ระดับหนี่ง พื้นฐานนี้เป็นอัตราสูงสุดของการเปลี่ยนแปลงที่ต้องใช้โดยระบบตามแบบข้อมูลที่กำหนดให้และต้องไม่เกินข้อจำกัดขั้นสูงของความกว้างแถบในระบบนั้น โดยทั่วไปรุปแบบสัญญาณข้อมูลไบนารี่แบบนี้เป็นแบบง่ายที่สุด เนื่องจากใช้เพียงเครื่องมือเปิดเพื่อให้เกิดโลจิก 1 หรือ ปิดซึ่งเป็นสายดิน หรือ 0V ให้เกิดโลจิก 0
2. Non Return to Zero Bipolar (NRZB)
       สัญญาณแบบนี้คล้ายกับ  NRZ มาก ที่แตกต่างกันคือ ระดับโลจิก 0 เป็นที่ - V แทนที่จะเป็น 0V สัญญาณแบบนี้ใช้แทน  NRZ เมื่อบันทึกข้อมูลบนแถบแม่เหล็กของฟลักซ์จะอยู่ในทิศทางหนึ่ง  สำหรักระแสที่เคลื่อนผ่านขดลวดในหัวบันทึกในทิศทางหนึ่งและจะอยุ่ในทิศทางตรงกันข้ามสำหรับกระแสที่เกิดผ่านขดลวดในหัวในทิศทางตรงข้ามกัน ความถี่ของไซร์เวฟพื้นฐานของแบบ NRZB เป็นเช่นเดียวกับแบบ NRZ ดังนั้นจึงใช้ความกว้างแถบสำหรับอัตราบิตเช่นเดียวกัน นั่นคืออัตราบิตสุงสุดเป็นสองเท่าของความกว้างแถบ
3. Return to Zero (RZ)
       สัญญารแบบ RZ ใช้ระดับ 0V สำหรับโลจิก 0 และ +V สำหรับโลจิก 1 การทำเช่นนี้จะทำให้ข้อมุลบิตโลจิก 1 เปลี่ยนเป็น 0 ในกึ่งกลางเวลาบิต การส่งแบบ RZ นี้เพื่อป้องกันกระแสข้อมูลไม่ให้อยู่ที่ระดับ +V นานเกินไป  เมื่อจำเป็นต้องส่งค่า 1 ติดต่อกันมากๆ ความถี่ไซร์เวฟพื้นฐานเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อมีการส่งโลจิก 1 มากกว่า 2 ตัวติดต่อกันเนื่องจากการส่งที่กึ่งกลางบิตและกลับไปยังบิต +V สำหรับบิตต่อไปทำให้เกิดไซร์เวฟ 1 รอบ
4. Return to Zero Bipolar (RZB)
       ข้อมูลดิจิตอลแบบ RZB นั้นโลจิก 1 และ 0 ใช้โวลเตจตรงกันข้าม คือ +V และ -V การเปลี่ยนเวลาเช่นนี้ทำให้จุดกึ่งกลางของแต่ละบิตข้อมูลคือโวลเตจลดลงมาที่ 0V ดังนั้นจึงใช้ชื่อว่า Return to Zero Bipolar  เช่นเดียวกัน สัญญาณแบบนี้ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดลักษณะของโวลเตจที่ตรงข้ามกันเท่านั้น แต่ ยังทำให้เกิดการส่ง (การเปลี่ยนระดับ) ในกึ่งกลางของแต่ละระยะข้อมูล  ระบบซิงโครนัสใช้ข้อดีข้อนี้ช่วยในการจับสัญญารนาฬิกาจากกระแสข้อมูลเพราะว่าระดับมีการเปลี่ยนแปลงอยู่สม่ำเสมอ  ดังนั้นวงจรจับสัญญาณนาฬิกาจะทำให้สัญญาณนาฬิกาสอดคล้องกับจุดกลางของแต่ละบิตในกระแสข้อมูล
5.Manchester Encoding ( หรือ Biphase)
      แบบ Manchester Encoding เป็นรุปแบบรหัสสัญญาณมากกว่ารุปแบบสัญญาณดิจิตอลจริง ๆ  กระแสข้อมูลถูกป้อนผ่านวงจรที่เสริมหรือการกลับครึ่งแรก ของบิตข้อมุลในครึ่งหลังจะไม่ถูกกลับจะเห็นว่าโลจิก 1 ตัวแรกจะอยู่ในระดับล่าง ระหว่างครึ่งแรกของช่วงบิตแรกและอยุ่ในระดับบน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น